
เวลาอยู่ในห้องเรียน เราเป็นแบบไหนกัน?!
📚 ฟังจด ฟังจด หรือ คิดวิเคราะห์ 🤔
วันนี้ NEXKY จะพามาให้รู้จักกับ 2️⃣ คอนเซ็ปต์การศึกษา Banking และ Problem-Posing แบบคร่าว ๆ กัน
ถูกตั้งขึ้นมาโดย เปาโล แฟร์เร่ (Paulo Freire) ในหนังสือ The Pedagogy of the Oppressed คอนเซ็ปต์การศึกษาสองแบบนี้ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และยังสามารถผลิตผู้เรียนที่แตกต่างกันอีกด้วย
📚 มาเริ่มกันที่ ‘Banking คอนเซ็ปต์ หรือการศึกษาแบบการธนาคาร’
การศึกษารูปแบบนี้ มีเส้นกั้นแบ่งแยกหน้าที่ของผู้เรียน และผู้สอนอย่างชัดเจน ในขณะที่ผู้สอนมีหน้าที่สอน สอน และสอน ผู้เรียนจะถูกมองเป็นคอนเทนเนอร์เปล่า ๆ มีหน้าที่ฟัง จำ และทำตามทุกอย่างที่ได้ยิน
ผู้สอนรู้ทุกอย่าง ผู้เรียนไม่รู้อะไรเลย
ผู้สอนเลือกสิ่งที่สอน ผู้เรียนได้แต่ทำตาม
Banking คอนเซ็ปต์ จะเน้นการเรียนแบบท่องจำ สิ่งที่เรียนและคำพูด ถูกมองเป็นสิ่งที่ว่างเปล่า ไร้ความคิดวิเคราะห์ และความแปลกใหม่
‘ความรู้’ ถูกมองว่าเป็นสิ่งสำเร็จรูป กำหนดมาเสร็จสิ้นแล้ว ไม่มีการแปรผันได้ ❌
ผลกระทบต่อผู้เรียนก็คือ ความคิดสร้างสรรค์ที่จางหาย 🤕 ไม่มีความคิดหรือจุดยืนของตัวเอง เป็นคนที่ยอมรับสิ่งที่เป็นอยู่ ว่าเปลี่ยนแปลงไม่ได้
แต่เดี๋ยวก่อน แล้วคอนเซ็ปต์แบบ Problem-Posing ล่ะ คืออะไร
มาดูกัน❗️
🤔 ในการศึกษารูปแบบ ‘Problem-Posing หรือการศึกษาแบบตั้งคำถาม’
ผู้เรียนและผู้สอน มีบทบาททั้งในการเรียนรู้ และในการผลิตสื่อสารความรู้ระหว่างทั้งสองฝ่าย
สำหรับเปาโล แฟร์เร่ ความรู้และการศึกษาสามารถถูกนำมาเจรจาต่อรองได้ ‘การเสวนา’ หรือ dialogue เป็นสิ่งที่สำคัญขาดไม่ได้
🙋 ผลกระทบต่อผู้เรียนคือ ผู้เรียนจะถือว่าเป็น นักคิดวิเคราะห์ ที่มีความคิดเห็นที่มีค่า ทุกคนก็จะมีความคิดสร้างสรรค์ และรู้จุดยืนความชอบของตัวเองได้ 🙋♀️
แต่เมื่อเป็นแบบนี้ ผู้เรียนก็ต้องมีความขยันในการใฝ่หาความรู้เอง พร้อมจะพูดคุยกับเพื่อน ๆ และผู้สอนในห้องด้วยนะ!
⁉️แต่เอ๊ะ ๆ
เราสามารถพูดได้ไหมว่า การศึกษาแบบตั้งคำถาม (Problem-Posing Concept) มันดีกว่า Banking Concept?
จริง ๆ มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และความเหมาะสม
⏱ บางเวลา Problem-Posing Concept เหมาะสมกว่า
⏱ บางเวลา Banking Concept เหมาะสมกว่า
ยกตัวอย่างเช่น ‘การเรียนภาษา’
เราสามารถคิดได้ว่าการศึกษาแบบการธนาคาร หรือ Banking Concept เหมาะสมมากกว่า เพราะว่าเราไม่รู้อะไรเลย การจะเริ่มเรียนภาษา อาจจะต้องเริ่มจากการที่ผู้สอนให้ข้อมูลต่าง ๆ แล้วเราต้องจำแล้วเข้าใจให้ได้ก่อน ถ้าผู้สอนตั้งคำถามคิดวิเคราะห์มาเลย เราจะเข้าใจภาษาต่างประเทศได้อย่างไรล่ะ
แบบนี้แล้ว Banking Concept อาจจะเหมาะสมมากกว่า Problem-Posing Concept!
.
.
เป็นไงบ้าง รูปแบบต่าง ๆ ก็เหมาะสำหรับสถานการณ์ที่ไม่เหมือนกัน
เรื่องเล่านี้เป็นเพียงสรุปคร่าว ๆ ใครอยากรู้ลึก รู้เพิ่ม ตาม NEXKY มาที่ลิงก์ด้านล่างเลย!
Reference: https://envs.ucsc.edu/internships/internship-readings/freire-pedagogy-of-the-oppressed.pdf